กิจกรรมรับเบี้ยผู้สูงอายุ ผู้พิการ และโรคเอดส์ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560

กิจกรรมรับเบี้ยผู้สูงอายุ ผู้พิการ และโรคเอดส์ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560

altaltalt

alt

alt

Attachments:
Download this file (DSCF3847.JPG)DSCF3847.JPG[ ]3990 Kb

วันอาสารักษาดินแดน (10 กุมภาพันธ์)

วันอาสารักษาดินแดน

ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปวันอาสารักษาดินแดน

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวันนี้กำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี

ความเป็นมาของกองอาสารักษาดินแดน
โดยที่การป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์สงครามปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคน ที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือและจะต้องได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาเตรียมไว้ตั้งแต่เวลาปกติ

กองอาสารักษาดินแดน เป็นองค์กรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน หลักการสำคัญในการจัดตั้งคือ เพื่อมีกำลังสำรองไว้ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งยามปกติและสงคราม โดยรับสมัครราษฎรที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.) พัฒนาการของกองอาสารักษาดินแดนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะก่อน พ.ศ. 2454
สมัยโบราณเมื่อเกิดภาวะสงคราม จะมีราษฎรที่ไม่ใช่ทหารรวมตัวกันต่อสู้กับข้าศึกเพื่อรักษา แผ่นดิน อาทิ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันที่ไม่ใช่ทหารพยายามต่อสู้กับพม่าจนสิ้นกำลัง ประมาณ พ.ศ. 2308-2309 สมัยการสู้รบที่เมืองถลาง คุณหญิงจันและนางมุก (ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร) สมัยกู้อิสรภาพเมืองนครราชสีมา โดยการนำของคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ

ระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2454 – 2497
มีความพยายามที่จัดตั้งหน่วยพลเรือนอาสาขึ้นให้เป็นระบบ ทั้งในยามปกติและสงคราม มีการนำแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้หลังจากมีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก รัฐมนตรี ได้มีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และพระราชบัญญัติให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 ขึ้น เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการที่จะป้องกันรักษาประเทศชาติในเวลาสงคราม โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ

ระยะตั้งแตพ.ศ. 2497 – ปัจจุบัน
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2497 ทำให้การดำเนินการด้านพลเรือนอาสา มีรูปแบบและระบบที่ชัดเจน ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จึงเป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี คือวันทหารผ่านศึก

ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ความสำคัญวันทหารผ่านศึก
เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารผ่านศึก อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก

ประวัติวันทหารผ่านศึก
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2538 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมทหารผ่านศึก ผู้ที่เสียสละเพื่อรักษาประเทศชาติ เนื่องจากทหารผ่านศึกบางคนได้รับบาดเจ็บจนต้องทุพพลภาพ เสียแขน ขา หรืออวัยวะที่สำคัญบางอย่างทำให้ไม่สามารถจะประกอบอาชีพได้เหมือนกับคนปกติ อีกทั้งไม่เป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงาน และสังคมส่วนรวม เนื่องจากขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ ดังนั้นทางคณะรัฐบาลจึงได้กำหนดวันทหารผ่านศึกขึ้น เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ ของทหารผ่านศึก รวมถึงให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แก่ทหารผ่านศึก

http://www.tlcthai.com/education/wp-content/uploads/2013/01/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%811-23-01-56.jpg

กิจกรรมในวันทหารผ่านศึก
1. จัดนิทรรศการเผยแพร่วีรกรรมของทหารผ่านศึก
2. วางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
3. จำหน่ายดอกป้อปปี้ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือทหารผ่านศึก

การบริจาคจากประชาชน อาจเป็นการนำเอาผลผลิตของทหารมาจำหน่ายกับประชาชนก็ได้ เช่น การทำดอก ป๊อปปี้ ออกไปขายสู่ประชาชนและอาจมีการตั้งกองทุนขึ้นทุกๆปี

เนื่องในโอกาสวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้จะเป็นวันคล้ายวัน สถาปนาองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและ เป็นวันทหารผ่านศึก ทางทีมงานวันว่างได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลประวัติจาก “รายการใจถึงใจ” แผนกสารนิเทศกองบัญชา การ ทหารสูงสุด ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของทหารหาญ ที่เป็นกองกำลังในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับอริราช ศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ทหารทุกคนต่างสละได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ร่างกายและลมหายใจ ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของ ทหารหาญเหล่านั้น รัฐบาลจึงหาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือมาตลอด โดยในสมัย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2488 โดยเรียกชื่อว่า “คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน”

ครั้นต่อมา จำนวนของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานโดยคณะกรรมการจึงไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เรียกชื่อย่อว่า “อผศ” เพื่อเป็นหน่วยงานถาวรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวนทหารผ่านศึก ต่อมาสภาทหารผ่านศึก สภากลาโหม และรัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อขยายการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และ พลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ

องค์การได้ให้การสงเคราะห์ประเภทต่างๆ แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึกและนอกประจำการ กล่าวคือ ให้การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล การสงเคราะห์ด้านส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

สำหรับในวันทหารผ่านศึกประจำทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้กำหนดให้มีพิธีและกิจกรรมต่างๆ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและความเสียหายของเหล่าทหารผ่านศึกทั้งหลาย โดยในช่วงระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ จะเป็นการประกอบ พิธีทางศาสนาพุทธ คริสต์ และ อิสลามรวมทั้งพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 จะมีพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพิธีสวน สนามสดุดีทหารผ่านศึก ณ ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและประชาชน ชาวไทยยังคงระลึกถึงและไม่ลืมเลือนวีรกรรมที่เหล่าวีรชนทหารผ่านศึกได้เคย ประกอบเพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน และ เพื่อคนไทยทั้งปวง

ขอขอบคุณข้อมูลประวัติ และ กิจกรรมของวันทหารผ่านศึก จากรายการ “ใจถึงใจ” กองบัญชาการทหารสูงสุด

ดอกป๊อปปี้

ในทางสากลแล้วถือว่า เป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึง ทหารผ่านศึกผู้พลีเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก และในประเทศไทยยังกำหนดให้เป็น สัญลักษณ์ ของวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปีอีกด้วย ซึ่งในวันนี้ดอกป๊อปปี้สีแดงจะบานสะพรั่งไปทั่วแผ่นดิน

สำหรับประเทศไทยแล้ว การจัดทำดอกป๊อปปี้เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหารและครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จึงได้เลือกเอาดอกป๊อปปี้สีแดง ซึ่งมีประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยสงครามในครั้งนั้น ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบที่นั่นได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงและน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร

โดยมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่เดียรดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมาดอก ป๊อปปี้จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศ ชาติ สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่าง ๆ มาแล้วโดยมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติปรากฎเป็นอนุสรณ์อยู่ วีรกรรมของนักรบไทย ในการรบได้ขจรขจายไปทั่วปรากฎต่อสายตาชาวโลก ฉะนั้นเพื่อระลึกถึงเกียรติภูมิของนักรบกล้าหาญ จึงได้กำหนดให้ดอกป๊อปปี้ เป็นดอกไม้ที่ระลึกสำหรับทหารผ่านศึกไทย เช่นเดียวกันในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายในวันที่ระลึก ทหารผ่านศึกตั้งแต่ ปี ๒๕๑๑ เป็นต้นมา

ในวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ นี้ คนไทยทุกคน จะได้มีโอกาสแสดงความระลึกถึงคุณความดี และความกล้าหาญของเหล่าบรรดาวีรชนไทย ที่ยอมสละเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อปกป้อง เอกราชอธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเรา ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาจนทุกวันนี้ โดยช่วยกันซื้อดอกป๊อป

 

ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันนักประดิษฐ์

ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

alt

ความสำคัญ วันนักประดิษฐ์
เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้กังหันน้ำชัยพัฒนายังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์เด่นจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

ประวัติวันนักประดิษฐ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะมีสภาพเสื่อมลงเรื่อย ๆ รวมถึงน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์เครื่องกลสำหรับบำบัดน้ำเสียขึ้นหลายชิ้น เช่น ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์ เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา และชัยพัฒนาไฮโดรเป็นต้น แต่ชิ้นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อีกทั้งเป็นชิ้นแรกที่ทรงได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาได้แก่ กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า เป็นแบบทุ่นลอย มีใบพัดขับเคลื่อนน้ำหมุนเป็นวงกลม สำหรับขับเคลื่อนน้ำ และวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเพื่อให้น้ำได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง เป็นผลให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมกับน้ำได้เร็วและในช่วงที่น้ำกระจายขึ้นมานั้นจะทำให้เกิดฟองอากาศจมลงไป เป็นการถ่ายเทอากาศ ได้อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเติมอากาศลงในน้ำและทำให้เกิดการหมุนเวียนมากขึ้น จากการทดสอบพบว่ากังหันน้ำชัยพัฒนาสามารถถ่ายเทออกซิเจนได้ถึง 0.9 กิโลกรัมของออกซิเจนต่อแรงม้าต่อชั่วโมง

 

ด้วยพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางคณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ นอกจากนี้การที่ทางรัฐบาลได้จัดงานวันนักประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต้องการให้เกิดความร่วมมือกันในวงการนักวิทยาศาสตร์นักวิจัย และนักประดิษฐ์มากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประดิษฐ์สิ่งของ เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร การศึด้านวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาชาติในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

งานวันนักประดิษฐ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ณ ศูนย์การค้าเวิลเทรดเซ็นเตอร์ โดยความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และได้จัดต่อมาเป็นประจำทุกปี

กิจกรรมวันนักประดิษฐ์
1. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานการประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

พิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร (100 วัน)

พิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร (100 วัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ณ วัดช่อม่วง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560 เวลา 15.00 น.

alt

alt

alt

alt

alt

alt

 

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล