ความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day)

วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day)

วันวาเลนไทน์

มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด

โดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อว่า “จูเลีย” ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกประหารชีวิตนั้น เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย อันเป็นที่รัก โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine

Saint-Valentine

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 (วันวาเลนไทน์) หรือ พ.ศ.813 ราว 1,738 ปี หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่ โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม ซึ่ง จูเลีย ได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของเซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพู ได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัวแต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจใน วันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

 

เตือนภัยหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงทารกศีรษะเล็ก จาก ไข้ซิกา ไวรัสที่มากับยุงลาย

ไข้ซิกา ไวรัสที่มากับยุงลาย เตือนภัยหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงทารกศีรษะเล็ก

alt

ไวรัสซิก้า ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิล จนที่ให้องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ต้องประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณะสุข 

 โรคไข้ซิกา(Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นเชื้อไวรัสตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 จากลิงที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าซิกา ประเทศยูกันดา และต่อมามีการพบเชื้อในคนเมื่อปี พ.ศ.2495 ในประเทศยูกันดา หลังจากนั้น มีการระบาดของโรคซิกา ในประเทศแถบ แอฟริกา อเมริกา เอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

 สำหรับประเทศไทย มีการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากนั้นมีการพบผู้ป่วยทุกปีประมาณ 2-5 ราย เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เชื้อไวรัสซิกาเป็นเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และไข้เหลือง สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ 

อาการมื่อได้รับเชื้อไวรัส ซิกา

เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว  ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกที่คลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ

alt

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ได้แก่

ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ ที่มีการระบาดโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจติดเชื้อแล้วทำให้ทารกคลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ 

 การรักษาผู้ป่วย

ด้านวิธีการรักษาส่วนใหญ่เป็นการดูแลรกษาตามอาการเป็นหลัก เนื่องจากโรคซิกายังเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรพักผ้อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในอวัยวะภายใน และหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์

alt

การป้องกันการติดเชื้อ

เราสามารถป้องกันโรคนี้โดยการระวังไม่ให้ถูกยุงกัด  และการใช้ยากำจัดยุงลายในบ้าน ทายาป้องกันยุง ในเด็กเน้นใช้ยาที่เหมาะกับเด็กด้วย ควรสวมเสื้อผาแขนยาว ขายาว เลือกสีที่อ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนยุงลายกัดได้ง่าย รวมทั้งปิดประตูหน้าต่างเมื่อเข้านอน นอนกางมุ้งหรือใช้มุ้งลวดป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในบ้านได้ง่าย อีกทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ให้มีน้ำขังในบ้าน และรอบบ้าน ซึ่งการป้องกันนี้เป็นการป้องกันไข้เลือดออกได้ด้วย ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในกลุ่มประเทศที่มีการระบาดของโรค โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้าอยู่ในถิ่นที่ระบาดอยู่อย่างกว้างขวาง ควรวางแผนเพื่อเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ลูกจะคลอดออกมามีภาวะผิดปกติ

  ไข้ซิกาจะต่างจากโรคตาแดง

ไข้ซิกาจะต่างจากโรคตาแดง ตรงที่ถ้าเป็นตาแดงจะไม่มีไข้ ไม่มีขี้ตามาก ผื่นไม่ขึ้นตามตัวไม่ปวดข้อ  โดยโรคตาแดงจะแสดงอาการทางตาเป็นหลักเท่านั้น แต่ถ้าเป็นไข้ซิกาจะมีหลายๆอาการทั้งเป็นไข้ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง รวมถึงมีอาการตาแดง และปวดตามข้อร่วมด้วย

 แม้โรคนี้จะมีอาการไม่รุนแรง แที่ทำให้ทั่วโลกสนใจ น่าจะเป็นเพราะมีการระบาดในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น และพบว่ามีภาวะทำให้ศีรษะเด็กเล็ก หากแม่ได้รับเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเข้าข่ายโรคนี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

ข้อมูลจาก

alt

พญ.ชัญญาพัทธ์ ภูริภคธร

กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลซ็นเตอร์

พระประวัติ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

เผยพระประวัติ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

“สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” (อัมพร อัมพโร) ปัจจุบัน สิริอายุ 89 ปี พรรษา 68 เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองงานพระธรรมทูต

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ มีนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. พ.ศ.2470 ที่ ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี บิดา-มารดา ชื่อ นายนับ และนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.อัมพร ได้เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ต่อมา เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นันโท) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ สามเณรอัมพร ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความมุ่งมั่น

ใน พ.ศ.2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท  พ.ศ.2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ.2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

กระทั่งปี พ.ศ.2490 สามเณรอัมพร ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) และให้สามเณรอัมพร เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2491 ณ มหาพัทธสีมาวัดราชบพิธฯ

โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์, สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี’ (ทองเจือ จินตากโร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ภายหลังอุปสมบท ท่านมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ พ.ศ.2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ.2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ท่านได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษา รุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ.2500

alt

ต่อมา พ.ศ.2509 ได้เข้าอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี พ.ศ.2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ พ.ศ.2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

ย้อนกลับไปในช่วงปี พ.ศ.2516 ท่านเป็นหัวหน้าพระธรรมทูต นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยมีพระขันติมาโล ชาวอังกฤษ เป็นสหธรรมิก พร้อมไวยาวัจกร ตามคำนิมนต์ของมิสเตอร์ไนท์ ประธานพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเวาธ์เวล์ ได้วางรากฐานพระพุทธศาสนา ตลอดถึงเป็นเนติให้สหธรรมิกที่มาภายหลังได้เผยแผ่อย่างเป็นรูปแบบ ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีความมั่นคง มีวัดและพระสงฆ์อยู่ประจำรัฐแห่งนี้ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อีกหลายเมือง อาทิ กรุงแคนเบอร์รา นครเมลบอร์น และเมืองดาร์วิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างคุณูปการแด่คณะสงฆ์อย่างมากมาย อาทิ งานด้านการศึกษา เป็นอาจารย์สอนธรรมวินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร เป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรมและแผนกบาลี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น

งานด้านสาธารณูปการ ท่านเป็นประธานอำนวยการฝ่ายบรรพชิต พระมหาธาตุเจดีย์และเขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลองมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย และเป็นประธานสร้างวัดแหล่งทองแดงพรหมสราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เป็นต้น

ส่วนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต รูปที่ 2 ผุ้นำพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ไปเผยแผ่ในประเทศออสเตรเลีย และเป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษาสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)

งานด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้มอบทุนสงเคราะห์แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

งานด้านการสาธารณสงเคราะห์ ท่านเป็นรองประธานกองทุนวัดช่วยวัดของมหาเถรสมาคม ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีอุบัติภัย วาตภัย อุทกภัย หรือภัยแล้ง นำเงินบริจาคเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยนั้นๆ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี พ.ศ.2524 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี  พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ พ.ศ.2538 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์

พ.ศ.2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ
และวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี”

ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่เอาใจใส่ในกิจการงานของพระอารามหลวงด้วยดีตลอดมา ดังจะเห็นได้จากตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ที่รับภารธุระอยู่ ทุกประการล้วนต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งความตั้งใจจริงอย่างดียิ่ง ปัจจุบัน เจ้าประคุณสมเด็จฯ สิริอายุ 89 ปี พรรษา 68 โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร) เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แต่แก่เดือนกว่า 5 เดือน

 

 

ร.10 โปรดเกล้าฯ ‘สมเด็จพระมหามุนีวงศ์’ เป็นสังฆราช องค์ที่ 20 สถาปนา 12 ก.พ.นี้

นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ร.10 โปรดเกล้าฯ ‘สมเด็จพระมหามุนีวงศ์’ เป็นสังฆราช องค์ที่ 20 สถาปนา 12 ก.พ.นี้

วันนี้ (7 ก.พ.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ามีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แล้วได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาโดยตลอด และได้มีการนำรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามที่ได้บอกไว้สามประการทูลเกล้าขึ้นไปทั้งห้ารูป ซึ่งคงไม่ต้องถามว่าเป็นใครและวันเดียวกันนี้ได้รับการ แจ้งมาว่าการโปรดเกล้าฯ ลงมาเรียบร้อยแล้ว คือสมเด็จวัดราชบพิธ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ จะมีการสถาปนาที่วัดพระแก้วในเวลา 17.00 น. ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จด้วยพระองค์เอง

alt

สำหรับ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) นามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกายปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองงานพระธรรมทูต เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพ.ศ. 2480 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ เคยไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี จากนั้น พ.ศ. 2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทและ พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อพ.ศ. 2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก

ภายหลังอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2491 ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. ๒๔๙๓ สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
ต่อมา เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ และปัจจุบัน พ.ศ. 2560 เจ้าประคุณสมเด็จมีอายุ 89 ปี 68 พรรษา

โปรดเกล้าฯ 5 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ร.๙-วันชาติ-วันพ่อแห่งชาติ

นายกรัฐมนตรี รับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ 5 ธันวาคม เป็นวันสำคัญของชาติ ให้เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ ๙ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็นวันหยุดราชการ

alt
       
       วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 15.00 น. พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่านายกรัฐมนตรีได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันสำคัญของชาติไทย ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 ยังความเศร้าสลดอย่างยิ่งใหญ่มาสู่พสกนิกรชาวไทย และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานต่อประเทศชาติและประชาชนเสมอมา ปวงชนชาวไทยทั้งปวงจึงน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักถึงความสำคัญของวันที่ 5 ธ.ค.ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดว่า วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติไทย ดังนี้
       
       1. เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 2. เป็นวันชาติ 3. เป็นวันพ่อแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2560 เป็นต้นไป นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้วันที่ 5 ธ.ค.ของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล