28 กรกฎาคม 2560 วันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป ร.10

วันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระราชประวัติ : พระราชสมภพ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมารเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสยามกุฎราชกุมารพระองค์แรกในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี พระนามเดิมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

 

9 กรกฎาคม 2560 วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา, วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา หมายถึง, วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา คือ, วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา ความหมาย, วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา คืออะไร

alt

วันเข้าพรรษา พ.ศ 2560 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม 2560

รู้จักความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษ

   การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
          วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ 
          - วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11 

          - วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12 

เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ 
            1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้ 
            2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้ 
            3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
            4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
            5.   เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้ 
            6.   เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
            7.   เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            8.   ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            9.   หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

          ใน วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า 

          อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ    หรือ    อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)  หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษานี้มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้

           ๑. พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆแต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ 
           ๒. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป 
           ๓. เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น ๔. นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ แล้วในช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น

พิธีทางศาสนา

    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ ๒ ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

๑. ประเพณีแห่เทียนพรรษา

           ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา
           ก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริกสนุกสนานเรียกว่าประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษาดังขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือนางนพมาศ ดังนี้

           เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบกและทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำประดับธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถหอพระธรรม และพระวิหารจุดตามให้สว่างไสวในที่นั้นๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม

           ในวัดราษฎร์ทั้งหลาย ก็มีพิธีทำนองนี้ทั่วพระราชอาณาจักร ปัจจุบัน ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษานี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป บางจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ถือให้เป็นประเพณีเด่นประจำจังหวัดตนได้จัดประดับตกแต่งต้นเทียนใหญ่ๆ มีการประกวดแข่งขันแล้วแห่แหน ไปถวายตามวัดต่าง ๆ

๒. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

           การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ 

           ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ

           แม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

         เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ 

          ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์ 
          ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ 
          ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ 
          ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา 
          ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ

          และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย  งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ

ประวัติวันเข้าพรรษา และความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

           เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัด เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พวกชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยงไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันตรัสถามจนได้ความเป็นจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า

           อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง    แปลว่า  "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก
3. ไปเพื่อธุระของสงฆ์
4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

           วันเข้าพรรษานี้โดยทั่วไปกำหนดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษา ในวันแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาได้ก็เลื่อนเข้าพรรษา ในแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) 

๒. การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย

           สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนอง เต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไปชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น

           ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่น ๆ

           ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า

           "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"

           นอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทย ในสมัยสุโขทัยนั้นยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น ๆดังรายละเอียดปรากฎอยู่ในหนังสือ นางนพมาศ พอสรุปได้ดังนี้ 

           เมื่อถึงเดือน ๘ ก็มีพระราชพิธีอาษาฒมาส พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป จะได้เข้าจำพรรษา ในพระอารามต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้จัดแจงเสนาสนะถวาย พร้อมทั้งบริขารอันควรแก่สมณะบริโภค เช่น เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร แม้ชาวเมืองสุโขทัย ก็บำเพ็ญกุศลเช่นนี้ในวัดประจำตระกูลของตน 

ประเพณีตักรบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษา

     การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า       ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุกๆ เช้า เขาจะนำดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา       เขาคิดว่า "ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ  เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า" 

    เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง   8 ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ 2 ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก 2 ทะนาน แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ 2 ทะนานอยู่ข้างซ้าย  ส่วนอีก 2 ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน

     นายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัลทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า ”ดอกเข้าพรรษา” ชื่อเรียกเช่นนี้เรียกกันติดปากของคนในแถบ จ.สระบุรี จนบางท่านไม่รู้ว่าดอกไม้นี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าอะไร

 ต้นเข้าพรรษาที่ออกดอกเข้าพรรษา ในท้องถิ่นอื่น ๆ จะนิยมเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “หงส์เหิน” ตามลักษณะของรูปร่างของดอก เพราะดอกและเกสรจะมีลักษณะเหมือนตัวหงส์ กำลังจะบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับเรียงตามช่อดอก นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก) กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน) กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่) ก้ามปู (พิษณุโลก) ขมิ้นผี หรือกระทือลิง (ภาคกลาง) ว่านดอกเหลือง (เลย) และดอกเข้าพรรษา (สระบุรี)

8 กรกฎาคม 2560 วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8

         alt

alt

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา

อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ

เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้

เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ

เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ

alt

อ่านความสำคัญทั้งหมด: http://guru.sanook.com/4159/

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

alt

ประวัติวันอาสาฬหบูชา

การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา

เทียนเข้าพรรษา

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

alt

เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

อ่าน: ประเพณีแห่เทียนพรรษา ทั้งหมด

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับชาวพุทธ

ตักบาตร

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในช่วงเช้า คือการตักบาตรใหญ่ อาจจัดขึ้นที่วัดและตามพื้นที่ราชการ โดยมีพระสงค์จำนวนมากเข้าร่วมพิธี

ทำบุญ

พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาตลอดทั้งวัน โดยสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา รวมไปถึงการถือศีล 5 หรือศีล 8 และการฟังเทศน์ที่วัดในช่วงตอนเย็น

เวียนเทียน

การเวียนเทียนนั้นจะเรียกว่าการเวียนเทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในตอนหัวค่ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

งดเหล้าเข้าพรรษา

การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ถือเป็นค่านิยมในประเทศไทย เพราะการงดดื่มสุราในช่วงเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้ ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาศาสนา รวมไปถึงการใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมเพื่อหลีกหนีจากสุรา

alt

เหตุผลในการงดเหล้าเข้าพรรษา

เพื่อสุขภาพของตัวเอง

เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสิ่งมึนเมา

เพื่อลดความเสี่ยง และไม่สร้างบัญหาให้สังคม

เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และทำนุบำรุงศาสนา

สถานที่ทำบุญวันอาสาฬหบูชายอดนิยม

1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

alt

วัดสำคัญของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 วัดโพธิ์ได้ถูกขึ้นทะเบียนจารึก เป็นมรดกความทรงจำโลก โดยยูเนสโก วัดโพธิ์ถือเป็นวัดที่มีพระเจดีย์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยสัญลักษณ์เด่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็คือ “ยักวัดโพธิ์” ตั้งอยู่ที่ทางเข้าพระมณฑป มีสีแดงและสีเขียว

2. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดอรุณ)

alt

วัดแจ้งหรือวัดอรุณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ถือเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ยักษ์วัดแจ้งจะยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ การไหว้พระที่วัดอรุณในช่วงวันสำคัญทางศาสนาอย่างวันอาสาฬหบูชา คนไทยถือว่าเป็นมงคลชีวิต มักมีคนไทยหลายๆคน มาทำบุญวันเกิดที่วัดแห่งนี้

3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

alt

วัดในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพระแก้วขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสำคัญ เป็นหน้าตาของบ้านเมือง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

 

8 กรกฎาคม 2560 วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8

         alt

alt

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา

อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ

เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้

เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ

เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ

alt

อ่านความสำคัญทั้งหมด: http://guru.sanook.com/4159/

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

alt

ประวัติวันอาสาฬหบูชา

การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา

เทียนเข้าพรรษา

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

alt

เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

อ่าน: ประเพณีแห่เทียนพรรษา ทั้งหมด

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับชาวพุทธ

ตักบาตร

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในช่วงเช้า คือการตักบาตรใหญ่ อาจจัดขึ้นที่วัดและตามพื้นที่ราชการ โดยมีพระสงค์จำนวนมากเข้าร่วมพิธี

ทำบุญ

พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาตลอดทั้งวัน โดยสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา รวมไปถึงการถือศีล 5 หรือศีล 8 และการฟังเทศน์ที่วัดในช่วงตอนเย็น

เวียนเทียน

การเวียนเทียนนั้นจะเรียกว่าการเวียนเทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในตอนหัวค่ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

งดเหล้าเข้าพรรษา

การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ถือเป็นค่านิยมในประเทศไทย เพราะการงดดื่มสุราในช่วงเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้ ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาศาสนา รวมไปถึงการใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมเพื่อหลีกหนีจากสุรา

alt

เหตุผลในการงดเหล้าเข้าพรรษา

เพื่อสุขภาพของตัวเอง

เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสิ่งมึนเมา

เพื่อลดความเสี่ยง และไม่สร้างบัญหาให้สังคม

เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และทำนุบำรุงศาสนา

สถานที่ทำบุญวันอาสาฬหบูชายอดนิยม

1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

alt

วัดสำคัญของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 วัดโพธิ์ได้ถูกขึ้นทะเบียนจารึก เป็นมรดกความทรงจำโลก โดยยูเนสโก วัดโพธิ์ถือเป็นวัดที่มีพระเจดีย์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยสัญลักษณ์เด่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็คือ “ยักวัดโพธิ์” ตั้งอยู่ที่ทางเข้าพระมณฑป มีสีแดงและสีเขียว

2. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดอรุณ)

alt

วัดแจ้งหรือวัดอรุณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ถือเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ยักษ์วัดแจ้งจะยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ การไหว้พระที่วัดอรุณในช่วงวันสำคัญทางศาสนาอย่างวันอาสาฬหบูชา คนไทยถือว่าเป็นมงคลชีวิต มักมีคนไทยหลายๆคน มาทำบุญวันเกิดที่วัดแห่งนี้

3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

alt

วัดในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพระแก้วขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสำคัญ เป็นหน้าตาของบ้านเมือง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

 

วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันวันภาคครึ่งปีธนาคาร ของเมืองไทย

วันภาคครึ่งปีธนาคาร ของเมืองไทย

ธนาคารสมัยก่อนอาจจะยังไม่มีความทันสมัยมาก ฉะนั้นการคิดเงิน การทำบัญชีต่างๆ จะต้องผ่านการทำด้วยมือ คิดด้วยมือ และจะต้องทำให้เกิดการผิดพลาดน้อยที่สุด เมื่อก่อนนี้อาจจะยังไม่มีการหยุดในวันภาคครึ่งปีแบบนี้ แต่เมื่อทางสหภาพแรงงานได้ประกาศออกมา ให้วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันหยุดภาคครึ่งปีของกลุ่มผู้ทำงานธนาคาร ซึ่งวันดังกล่าว ได้ยึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
ในประเทศไทยนั้น วันภาคครึ่งปีธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดของธนาคาร ทุกๆปี ในวันที่ 1 กรกฎราคม ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารส่วนใหญ่จะปิดทำการ แต่ก็ยังคงมี ธนาคารตามห้างสรรพสินค้า บางธนาคาร ที่ยังคงเปิดให้บริการ ซึ่งวันภาคครึ่งปีธนาคารเป็นธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ที่ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าและประชาชนทั่วไป ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร

วันที่ใช้จัดงานวันภาคครึ่งปีธนาคาร

วันภาคครึ่งปีธนาคาร คือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี  

ประวัติวันภาคครึ่งปีธนาคาร

แม้ทุกธนาคารจะมีวิวัฒนาการก้าวหน้า ด้วยระบบไอที เพราะแต่ละแห่งต่างก็มีระบบออนไลน์กันหมด ทำให้สะดวกในการทำงาน และไม่ช้าเหมือนสมัยก่อน รวมถึงการจัดระเบียบบัดคิว ที่ไม่ต้องไปแย่งกันอีกต่อไป แค่คลิกด้วยปลายนิ้ว ก็จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอีกด้วย
วันหยุดครึ่งปีธนาคาร มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเมื่อก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ของธนาคาร การทำบัญชีของธนาคารต่าง ๆ จะทำกันโดยใช้มือลงบัญชี หรือเครื่องลงบัญชีรุ่นเก่า ไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนปัจจุบันนี้ ในอดีตข้อมูลแต่ละวันในธนาคารมีมากทั้งการคิดดอกเบี้ยเงินฝากทั้งหลาย รวมถึงต้องปิดงวดบัญชีกลางปีซึ่งบางปี ของวันที่ 30 มิถุนายน ถ้าไม่ตรงวันศุกร์ จะทำให้พนังงานธนาคารทั้งหมดทำงานกันจนค่ำมืดดึกดื่น และถึงเช้าก็มี เพราะเหตุนี้ทำให้พนักงานไม่มีเวลาพักผ่อน ทางการจึงประกาศให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันหยุดชดเชยให้พนักงาน โดยเป็นคำสั่งจากธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงค์ชาติ)
วันหยุดธนาคารทั้งหลาย ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งตรงมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติ โดยปัจจุบันธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ กันแทบจะทุกแห่ง ส่วนวันภาคครึ่งปีธนาคารเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานานแล้ว เพราะนอกจากพนักงานจะต้องทำการเคลียร์บัญชีที่ลงรายการด้วยมือ ทุกครึ่งปี จะต้องมีการคิดดอกเบี้ย เงินกู้ เงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ ทบต้นกับช่วงนี้ จึงเป็นเหตุให้พนักงานที่ต้องทำงานด้านบัญชีและการเงินของแต่ละธนาคาร ต้องทำงานกับดึกดื่น หรือถึงเช้าเลยก็มี ส่วนฝ่ายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี เช่น ประชาสัมพันธ์ ธุรการ ก็ไม่ต้องอยู่ดึกเพราะไม่ได้เป็นผู้ปิดงบหรือทำบัญชี
ที่มีการให้พนักงานหยุดครึ่งปีเพราะกลัวว่าหากเกิดความผิดพลาดในการทำงบ บัญชีครึ่งปีแรก จะได้ไม่มีผลกระทบกับรายการเดินบัญชีของวันถัดไป และอีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากการทำงบครึ่งปีนั้นปกติ การทำรายการตอนกลางคืนของธนาคารจะใช้เวลามากกว่าการทำรายการปกติของทุกคืน ทำให้เปิดทำงานปกติไม่ทัน
โดยปกติความมั่นคงทางด้านเศรษกิจการเงินถือเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำธุรกรรมทางการเงินต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถหยุดติดต่อกันนานๆเกินกว่า 4 วันได้ วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร เป็นวันหยุดของสถาบันการเงิน เพื่อให้ฝ่ายบัญชีมาเคลียร์บัญชีและถ้าไปตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ จะไม่มีการหยุดชดเชยในวันจันทร์
วันหยุดครึ่งปีของธนาคารได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ในปัจจุบันธนาคารต่างๆ จะมีระบบคอมพิวเตอร์กันหมดก็ตาม ซึ่งเมื่อพนักงานได้มีโอกาสหยุดวันนี้แล้ว กิจกรรมต่างๆ ที่พนักงานจะได้ทำกันในวันนี้ ก็มีหลากหลายแนวทางที่แตกต่างกันออกไป

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล