8 กรกฎาคม 2560 วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8

         alt

alt

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา

อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ

เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้

เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ

เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ

alt

อ่านความสำคัญทั้งหมด: http://guru.sanook.com/4159/

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

alt

ประวัติวันอาสาฬหบูชา

การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา

เทียนเข้าพรรษา

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

alt

เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

อ่าน: ประเพณีแห่เทียนพรรษา ทั้งหมด

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับชาวพุทธ

ตักบาตร

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในช่วงเช้า คือการตักบาตรใหญ่ อาจจัดขึ้นที่วัดและตามพื้นที่ราชการ โดยมีพระสงค์จำนวนมากเข้าร่วมพิธี

ทำบุญ

พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาตลอดทั้งวัน โดยสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา รวมไปถึงการถือศีล 5 หรือศีล 8 และการฟังเทศน์ที่วัดในช่วงตอนเย็น

เวียนเทียน

การเวียนเทียนนั้นจะเรียกว่าการเวียนเทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในตอนหัวค่ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

งดเหล้าเข้าพรรษา

การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ถือเป็นค่านิยมในประเทศไทย เพราะการงดดื่มสุราในช่วงเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้ ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาศาสนา รวมไปถึงการใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมเพื่อหลีกหนีจากสุรา

alt

เหตุผลในการงดเหล้าเข้าพรรษา

เพื่อสุขภาพของตัวเอง

เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสิ่งมึนเมา

เพื่อลดความเสี่ยง และไม่สร้างบัญหาให้สังคม

เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และทำนุบำรุงศาสนา

สถานที่ทำบุญวันอาสาฬหบูชายอดนิยม

1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

alt

วัดสำคัญของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 วัดโพธิ์ได้ถูกขึ้นทะเบียนจารึก เป็นมรดกความทรงจำโลก โดยยูเนสโก วัดโพธิ์ถือเป็นวัดที่มีพระเจดีย์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยสัญลักษณ์เด่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็คือ “ยักวัดโพธิ์” ตั้งอยู่ที่ทางเข้าพระมณฑป มีสีแดงและสีเขียว

2. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดอรุณ)

alt

วัดแจ้งหรือวัดอรุณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ถือเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ยักษ์วัดแจ้งจะยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ การไหว้พระที่วัดอรุณในช่วงวันสำคัญทางศาสนาอย่างวันอาสาฬหบูชา คนไทยถือว่าเป็นมงคลชีวิต มักมีคนไทยหลายๆคน มาทำบุญวันเกิดที่วัดแห่งนี้

3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

alt

วัดในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพระแก้วขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสำคัญ เป็นหน้าตาของบ้านเมือง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

 

Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 




















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล