เตือนภัยหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงทารกศีรษะเล็ก จาก ไข้ซิกา ไวรัสที่มากับยุงลาย

ไข้ซิกา ไวรัสที่มากับยุงลาย เตือนภัยหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงทารกศีรษะเล็ก

alt

ไวรัสซิก้า ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิล จนที่ให้องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ต้องประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณะสุข 

 โรคไข้ซิกา(Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นเชื้อไวรัสตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 จากลิงที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าซิกา ประเทศยูกันดา และต่อมามีการพบเชื้อในคนเมื่อปี พ.ศ.2495 ในประเทศยูกันดา หลังจากนั้น มีการระบาดของโรคซิกา ในประเทศแถบ แอฟริกา อเมริกา เอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

 สำหรับประเทศไทย มีการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากนั้นมีการพบผู้ป่วยทุกปีประมาณ 2-5 ราย เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เชื้อไวรัสซิกาเป็นเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และไข้เหลือง สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ 

อาการมื่อได้รับเชื้อไวรัส ซิกา

เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว  ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกที่คลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ

alt

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ได้แก่

ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ ที่มีการระบาดโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจติดเชื้อแล้วทำให้ทารกคลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ 

 การรักษาผู้ป่วย

ด้านวิธีการรักษาส่วนใหญ่เป็นการดูแลรกษาตามอาการเป็นหลัก เนื่องจากโรคซิกายังเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรพักผ้อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในอวัยวะภายใน และหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์

alt

การป้องกันการติดเชื้อ

เราสามารถป้องกันโรคนี้โดยการระวังไม่ให้ถูกยุงกัด  และการใช้ยากำจัดยุงลายในบ้าน ทายาป้องกันยุง ในเด็กเน้นใช้ยาที่เหมาะกับเด็กด้วย ควรสวมเสื้อผาแขนยาว ขายาว เลือกสีที่อ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนยุงลายกัดได้ง่าย รวมทั้งปิดประตูหน้าต่างเมื่อเข้านอน นอนกางมุ้งหรือใช้มุ้งลวดป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในบ้านได้ง่าย อีกทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ให้มีน้ำขังในบ้าน และรอบบ้าน ซึ่งการป้องกันนี้เป็นการป้องกันไข้เลือดออกได้ด้วย ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในกลุ่มประเทศที่มีการระบาดของโรค โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้าอยู่ในถิ่นที่ระบาดอยู่อย่างกว้างขวาง ควรวางแผนเพื่อเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ลูกจะคลอดออกมามีภาวะผิดปกติ

  ไข้ซิกาจะต่างจากโรคตาแดง

ไข้ซิกาจะต่างจากโรคตาแดง ตรงที่ถ้าเป็นตาแดงจะไม่มีไข้ ไม่มีขี้ตามาก ผื่นไม่ขึ้นตามตัวไม่ปวดข้อ  โดยโรคตาแดงจะแสดงอาการทางตาเป็นหลักเท่านั้น แต่ถ้าเป็นไข้ซิกาจะมีหลายๆอาการทั้งเป็นไข้ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง รวมถึงมีอาการตาแดง และปวดตามข้อร่วมด้วย

 แม้โรคนี้จะมีอาการไม่รุนแรง แที่ทำให้ทั่วโลกสนใจ น่าจะเป็นเพราะมีการระบาดในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น และพบว่ามีภาวะทำให้ศีรษะเด็กเล็ก หากแม่ได้รับเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการเข้าข่ายโรคนี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

ข้อมูลจาก

alt

พญ.ชัญญาพัทธ์ ภูริภคธร

กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลซ็นเตอร์

Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 




















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล